วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 จังหวัดนราธิวาส


ความเป็นมา
เดิมพื้นที่ที่ขอตั้งโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 11 กิ่งอำเภอกำลัง จังหวัดยะลานั้นเป็นหมู่บ้านรัตนกิตติ 3 ซึ่งทาง ราชการทหารโดยกองทัพบก (แม่ทัพภาคที่ 4) ได้รับอนุญาติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จากกรมป่าไม้โดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื้อที่ 1,600 ไร่ และต่อมาได้ทำการ จัดสรรพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากาบัง ที่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้แก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยให้ครอบครัวละ 15 ไร่ เพื่อให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติ ไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยอันเป็นหลักประกันชีวิต และครอบครัว รวมทั้งการประกอบอาชีพ และการเป็นอยู่ที่ดีตามความมุ่งหวังและปรารถนาดีของทางราชการทหารต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยกลุ่มนี้ เพื่อหันมา ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ทำการจัดสรรให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้แยกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตหมู่บ้านแยะใน หมู่ที่ 3 ตำบลบาละ กิ่งอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ส่วนที่ 2 อยู่ที่บ้านจาเราะทำบุง (หรือคลอง ตำบล) และส่วนที่ 3 อยู่ที่บ้านคลองพุด ซึ่งส่วนที่ 2 และ 3 อยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลบาละ กิ่ง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

ในปลายปี 2537 องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ทรงตรวจเยี่ยมโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 และดูความก้าวหน้าของโครงการฯ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ได้ถวายรายงานผลงานที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการ หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 11 ในครั้งนี้ เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ของโครงการที่เป็นหมู่บ้านรัตนกิตติ 3 (เดิม) ร่วมกับฝ่ายทหารผู้รับ ผิดชอบดูแลโครงการในพื้นที่จากการถวายรายงานและนำแผนที่ประกอบ ให้ทอดพระเนตรพร้อมรายงานถวาย รายละเอียด ๆ ของพื้นที่ทำกินที่จัดสรรเมื่อทรงทอดพระเนตรจากแผนที่และการถวายรายงาน องค์ประธานสถาบัน วิจัยจุฬาภรณ์ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าพื้นที่ทั้งสามส่วนไม่มีพื้นที่ติดต่อกัน ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามและ ได้ทรงรับสั่งว่าถ้าหากสามารถตีกรอบให้เป็นสี่เหลี่ยม ดูจะสวยงามว่า และพื้นที่ที่มีอยู่เดิมก็น้อย จะทำการวิจัยและ พัฒนาก็ยาก ให้แก้ไขพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยม โดยผนวกพื้นที่เก่าจำนวน 1,600 ไร่ เข้าไปด้วย รวมพื้นที่ทั้งหมด 18 ตาราง กิโลเมตร หรือ 11,250 ไร่ เพื่อนำพื้นที่ไปจัดตั้งหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ให้สมบูรณ์แบบสามารถมีพื้นที่รองรับใน การวิจัยและการพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ภายใต้การอุปถัมภ์ดูแลช่วยเหลือของ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นพระประสงค์และความมุ่งหวังที่องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มอบให้แก่ราษฎรที่อยู่ ห่างไกล และอยู่ในโครงการของพระองค์ท่านได้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีมีพลานามัยสมบูรณ์ เพื่อจะได้เป็นกำลังใน การพัฒนาประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่มีพระ ประสงค์และ ความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะดำเนินการให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนาทั้งหมดที่อยู่ ภายใต้การดูแลสนับสนุน ส่งเสริมให้ประสพความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเจริญรอยตามแนวพระราชดำริ องค์พระประมุข ของปวงชนชาวไทย
2. เพื่อขยายพื้นที่ให้กับโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ให้มีพื้นที่และโครงการสร้างในการที่จะทำ การวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติได้รับการดูแลและพัฒนาให้ดีขึ้น
3. เพื่อจัดระบบในการวิจัย และพัฒนาเสริมสร้างทางระบบนิเวศวิทยาที่เสื่อมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้มี พันธุ์ไม้หลายหลากทางชีวภาพ หวาย สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อระบบนิเวศได้รับการดูแลเอาใจใส่และมุ่งพัฒนาสัตว์ป่าก็จะเพิ่มพูนไปด้วย
4. ทำการวิจัยและพัฒนา สื่อประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรที่อยู่อาศัยในขอบเขตป่า และในพื้นที่โครงการฯ ได้มีความสำนึกใน การรักป่ารู้คุณค่าของป่าที่ให้คุณประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้คนอยู่กับป่าได้อย่าง กลมเกลียวอันเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาชีวิต
5. เพื่อเป็นแนวกันชนในการป้องกันการบุกรุกทำลายป่า แผ้วถางป่าครอบครองพื้นที่ป่าอันเป็นตัวการบ่อ เกิดแห่งการทำลายระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าในการเสริมการปลูกต้นไม้เสริม พื้นที่ ธรรมชาติในการนำพันธุ์ไม้ป่าหวายที่สามารถขึ้นในพื้นที่เพื่อทำการวิจัยพันธุ์ไม้ พันธุ์หวายและพันธุ์ไม้หลายชนิดเพื่อการวิจัยพัฒนาเสริมสร้างแนวกันชนระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ที่สามารถทำการพัฒนาได้ใน พื้นที่ โครงการฯ และขยายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในการวิจัยและพัฒนาระบบนิเวศวิทยา และระบบแนวเสริมสร้างภาพ แวดล้อมของธรรมชาติและบรรยากาศต่อไป
ที่ตั้งโครงการ บ้านจาเราะทำบุง หมู่ที่ 2 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
หน่วยที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานป่าไม้จังหวัดยะลา
ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มดำเนินการปี 2540 - 2544 รวม 5 ปี

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น