วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติผู้จัดทำ



ชื่อ  นายอนุสรณ์  พลอยงาม
อายุ 25  ปี
นักศึกษา  ปริญญาบัตรวิชาชีพครู  รุ่น 12  รหัส  562
มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
วุฒิเดิม  บริหารธุรกิจบัณฑิต  เอก เทคโนโลยีสารสนเทศ
ภูมิลำเนา  ราชบุรี

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีี

เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
          เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
          สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
          ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
          Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ

นวัตกรรม

นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา  (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยาหมายถึง  ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ  3  ประการ คือ  วัสดุ  อุปกรณ์  และวิธีการ 
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ  เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น          
นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษ า เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก  จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์  เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจากความคิด
รวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
          1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ  ตามความคิดรวบยอดนี้  เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง  การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ  ในรูปของสิ่งประดิษฐ์  เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ  มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่การใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน  มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้  โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา  ตามความคิดรวบยอดนี้  ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป  คือมีเพียงวัสดุ  และอุปกรณ์เท่านั้น  ไม่รวมวิธีการ  หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย  ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ  "โสตทัศนศึกษานั่นเอง
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์  เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา  มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม  ภาษา การสื่อความหมาย  การบริหาร  เครื่องยนต์กลไก  การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม  เพื่อให้ผู้เรียน  เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น  แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย  มิใช่วัสดุ  หรืออุปกรณ์  แต่เพียงอย่างเดียว

โครงการพระราชดำริ สวนป่าหาดทรายใหญ่


 โครงการพระราชดำริ สวนป่าหาดทรายใหญ่
ตำบลเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1. หลักการและเหตุผล
โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบหุบเขาติดชายฝั่งทะเล มีพื้นที่ด้านหน้าลาดเทลงไปจรดทะเล อีก 3 ด้านโอบล้อมด้วยภูเขา พื้นที่โครงการฯ จึงเป็นที่ที่ผสมผสานระหว่างกันของระบบนิเวศภูเขาและระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ย้อนหลังไปหลายสิบปีก่อน แผ่นดินแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด แต่ได้ถูกทำลายลงไปจนหมดสิ้น เหลืออยู่เพียงพื้นดินที่แห้งแล้งที่ถูกทิ้งร้างไว้กับความแห้งแล้ง
ปี 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมา ณ ผืนดินแห่งนี้ได้ทอดพระเนตรเห็นความแห้งแล้ง จึงมีพระราชดำริ ที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้เป็นพื้นดินที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า แม้พื้นที่จะเป็นดินเลวเพียงใดก็สามารถที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ด้วยความตั้งใจจริง อดทนที่จะฟื้นธรรมชาติที่เสื่อมสลายไปให้กลับคืนมา จึงเกิดเป็นฟาร์มส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า “ โครงการฟาร์มส่วนพระองค์หาดทรายใหญ่ ” บนผืนดินที่เป็นพื้นที่ราบ 88 ไร่ รวมกับขุนเขาที่ล้อมรอบสามด้านเป็นเนื้อที่เขตพระราชฐานรวมกัน 1,081 ไร่ โดยมีด้านหน้าทิศตะวันออกจรดทะเล
ปี 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโครงการแห่งนี้อให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อทรงช่วยฟื้นฟูธรรมชาติทังหมดของผืนดิน ให้กลับคืนเป็นป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ดังนั้น ในเดือนพฤษภาคม 2526 โครงการฟาร์มส่วนพระองค์ หาดทรายใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่ ”
ลักษณะพิเศษของการดำเนินงานของโครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่นั้นก็คือ ธรรมชาติได้ถูกคนทำลายไปจนหมดแล้วคนก็สร้างคืนมา เป็นการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติที่ค่อนข้างลำบากมาก เพราะที่นี่แห้งแล้งที่สุดในภาคกลางตอนใต้ การดำเนินงานจึงเหมือนเป็นการเอาชนะธรรมชาติ ส่วนความโดดเด่นของโครงการอยู่ที่ว่าเป็นสถานที่ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติในตัว ข้างหลังเป็นภูเขา ข้างหน้าจรดทะเล มีป่า มีสัตว์ มีน้ำจืดภายใน มีทะเล มีภูเขา ค่อนข้างหลากหลาย ธรรมชาติเอื้ออำนวย แล้วมีการพัฒนาเสริมเพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม ทั้งในด้านพรรณพืช และ สัตว์ป่า
ปัจจุบันโครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ทั้งประทับเพื่อ ทรงงาน และเพื่อทรงพักผ่อนพระอริยาบทอยู่เสมอ เช่นในปี 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาประทับที่โครงการแห่งนี้ถึง 52 ครั้ง
ด้วยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม(สส.)ได้ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจัดทำโครงการหมู่บ้านผลิตอาหาร( Food Bank ) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่เป็นถิ่นทุรกันดารใน 2 พื้นที่คือ
1. โครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ บ้านพุระกำ/หนองตาตั้ง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
2. โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่ ตำบลเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงได้ประสานงานมายังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลให้ดำเนินการสำรวจและขุดเจาะน้ำบาดาลในพื้นที่โครงการ
พระราชดำริทั้ง 2 พื้นที่
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เข้าร่วมการประชุมแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้วางแผนการเจาะสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ภายในพื้นที่ดังกล่าวมีหน้าที่สนับสนุนงานและภารกิจต่างๆ เกี่ยวกับด้าน น้ำบาดาล จึงได้จัดทำแผนงานกล่าวขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจัดทำโครงการหมู่บ้านผลิตอาหาร  ( Food Bank ) และได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้า
สำรวจพื้นที่เบื้องต้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแหล่งน้ำบาดาลที่จะนำมาใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ตามพระราชประสงค์ต่อไป 

ขอขอบคุณ : http://www.dgr.go.th

โครงการจัดหาน้ำบาดาล สำหรับโครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง

 

โครงการจัดหาน้ำบาดาล สำหรับโครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง
ภูขัด ภูเมี่ยง และภูสอยดาว บ้านร่มเกล้า ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก


1. หลักการและเหตุผล
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจศูนย์ ศิลปาชีพ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ในพื้นที่ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 และได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งกับคณะเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ช่วยเจาะบ่อบาดาล เนื่องจากแล้งมากลงทุกปี
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากร น้ำบาดาลได้ประสานงานกับคุณสหัส บุญญาวิวัฒน์ผู้ช่วยราชเลขาฯ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวัง และขอทราบรายละเอียดข้อมูลกิจกรรมการใช้น้ำของโครงการจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ เข้า สำรวจพื้นที่เบื้องต้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแหล่งน้ำบาดาลที่จะนำมาใช้ทดแทนและสำรอง จากการสำรวจทางธรณีวิทยาเบื้องต้นและสำรวจ ขั้นรายละเอียด ด้วยวิธีธรณีฟิสิกส์พบว่ามีแนวโน้มที่จะหาแหล่ง น้ำบาดาลมาใช้ทดแทน ได้อย่างเพียงพอที่จะนำมาใช้สนับสนุนโครงการของสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริตามพระราชประสงค์ต่อไป 

ขอขอบคุณ : http://www.dgr.go.th

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ  

1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็นโครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรงทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม ่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น 

ขอขอบคุณ : http://www.dgr.go.th

โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก

 ความเป็นมา
              สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ใน พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด เพื่อให้คงความอุดม สมบูรณ์สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร โดยให้ดำเนินการในรูปโครงการอัน เนื่องมา จากพระราชดำริ ในการนี้สำนักราชเลขา โดยท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ได้มี หนังสือ ที่ รล 0009/3244 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 แจ้งกรมป่าไม้ให้พิจารณา ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการ เพื่อสนองพระราชดำริ
วัตถุประสงค์
   1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของผืนป่าธรรมชาติที่ เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวและแห่งสุดท้ายใน ภาค
ตะวันออก
   2. เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกบุกรุกและเสื่อมสภาพให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์โดยเร็ว
   3. เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และสำรวจหาข้อมูลทางวิชาการในการสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
   4. เพื่อพัฒนาอาชีพราษฎรในพื้นที่โครงการพื้นที่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 5 โครงการ (โครงการหมู่บ้านป่าไม้เดิมให้มีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้)
   5. ทำการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบริเวณแนวกันชนรอบเขต อนุรักษ์ให้มีความรู้มีจิตสำนึกและเล็งเห็น ความสำคัญของ
ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยเข้า มามีส่วนร่วมในการจัดการและอนุรักษ์

ที่ตั้งโครงการ จ.ฉะเชิงเทรา/ชลบุรี/ระยอง/ปราจีนบุรี/จันทบุรี

หน่วยที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานป่าไม้จังหวัด

ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มดำเนินการปี 2539 - 2543 รวม 5 ปี

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 จังหวัดนราธิวาส


ความเป็นมา
เดิมพื้นที่ที่ขอตั้งโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 11 กิ่งอำเภอกำลัง จังหวัดยะลานั้นเป็นหมู่บ้านรัตนกิตติ 3 ซึ่งทาง ราชการทหารโดยกองทัพบก (แม่ทัพภาคที่ 4) ได้รับอนุญาติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จากกรมป่าไม้โดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื้อที่ 1,600 ไร่ และต่อมาได้ทำการ จัดสรรพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากาบัง ที่ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้แก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยให้ครอบครัวละ 15 ไร่ เพื่อให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติ ไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยอันเป็นหลักประกันชีวิต และครอบครัว รวมทั้งการประกอบอาชีพ และการเป็นอยู่ที่ดีตามความมุ่งหวังและปรารถนาดีของทางราชการทหารต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยกลุ่มนี้ เพื่อหันมา ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ทำการจัดสรรให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้แยกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตหมู่บ้านแยะใน หมู่ที่ 3 ตำบลบาละ กิ่งอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ส่วนที่ 2 อยู่ที่บ้านจาเราะทำบุง (หรือคลอง ตำบล) และส่วนที่ 3 อยู่ที่บ้านคลองพุด ซึ่งส่วนที่ 2 และ 3 อยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลบาละ กิ่ง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

ในปลายปี 2537 องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ทรงตรวจเยี่ยมโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 และดูความก้าวหน้าของโครงการฯ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ได้ถวายรายงานผลงานที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการ หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 11 ในครั้งนี้ เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ของโครงการที่เป็นหมู่บ้านรัตนกิตติ 3 (เดิม) ร่วมกับฝ่ายทหารผู้รับ ผิดชอบดูแลโครงการในพื้นที่จากการถวายรายงานและนำแผนที่ประกอบ ให้ทอดพระเนตรพร้อมรายงานถวาย รายละเอียด ๆ ของพื้นที่ทำกินที่จัดสรรเมื่อทรงทอดพระเนตรจากแผนที่และการถวายรายงาน องค์ประธานสถาบัน วิจัยจุฬาภรณ์ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าพื้นที่ทั้งสามส่วนไม่มีพื้นที่ติดต่อกัน ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามและ ได้ทรงรับสั่งว่าถ้าหากสามารถตีกรอบให้เป็นสี่เหลี่ยม ดูจะสวยงามว่า และพื้นที่ที่มีอยู่เดิมก็น้อย จะทำการวิจัยและ พัฒนาก็ยาก ให้แก้ไขพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยม โดยผนวกพื้นที่เก่าจำนวน 1,600 ไร่ เข้าไปด้วย รวมพื้นที่ทั้งหมด 18 ตาราง กิโลเมตร หรือ 11,250 ไร่ เพื่อนำพื้นที่ไปจัดตั้งหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ให้สมบูรณ์แบบสามารถมีพื้นที่รองรับใน การวิจัยและการพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ภายใต้การอุปถัมภ์ดูแลช่วยเหลือของ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นพระประสงค์และความมุ่งหวังที่องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มอบให้แก่ราษฎรที่อยู่ ห่างไกล และอยู่ในโครงการของพระองค์ท่านได้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีมีพลานามัยสมบูรณ์ เพื่อจะได้เป็นกำลังใน การพัฒนาประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่มีพระ ประสงค์และ ความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะดำเนินการให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนาทั้งหมดที่อยู่ ภายใต้การดูแลสนับสนุน ส่งเสริมให้ประสพความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเจริญรอยตามแนวพระราชดำริ องค์พระประมุข ของปวงชนชาวไทย
2. เพื่อขยายพื้นที่ให้กับโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 ให้มีพื้นที่และโครงการสร้างในการที่จะทำ การวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติได้รับการดูแลและพัฒนาให้ดีขึ้น
3. เพื่อจัดระบบในการวิจัย และพัฒนาเสริมสร้างทางระบบนิเวศวิทยาที่เสื่อมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้มี พันธุ์ไม้หลายหลากทางชีวภาพ หวาย สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อระบบนิเวศได้รับการดูแลเอาใจใส่และมุ่งพัฒนาสัตว์ป่าก็จะเพิ่มพูนไปด้วย
4. ทำการวิจัยและพัฒนา สื่อประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรที่อยู่อาศัยในขอบเขตป่า และในพื้นที่โครงการฯ ได้มีความสำนึกใน การรักป่ารู้คุณค่าของป่าที่ให้คุณประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้คนอยู่กับป่าได้อย่าง กลมเกลียวอันเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาชีวิต
5. เพื่อเป็นแนวกันชนในการป้องกันการบุกรุกทำลายป่า แผ้วถางป่าครอบครองพื้นที่ป่าอันเป็นตัวการบ่อ เกิดแห่งการทำลายระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าในการเสริมการปลูกต้นไม้เสริม พื้นที่ ธรรมชาติในการนำพันธุ์ไม้ป่าหวายที่สามารถขึ้นในพื้นที่เพื่อทำการวิจัยพันธุ์ไม้ พันธุ์หวายและพันธุ์ไม้หลายชนิดเพื่อการวิจัยพัฒนาเสริมสร้างแนวกันชนระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ที่สามารถทำการพัฒนาได้ใน พื้นที่ โครงการฯ และขยายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในการวิจัยและพัฒนาระบบนิเวศวิทยา และระบบแนวเสริมสร้างภาพ แวดล้อมของธรรมชาติและบรรยากาศต่อไป
ที่ตั้งโครงการ บ้านจาเราะทำบุง หมู่ที่ 2 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
หน่วยที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานป่าไม้จังหวัดยะลา
ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มดำเนินการปี 2540 - 2544 รวม 5 ปี

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่แลง

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่แลง (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) อำเภอลอง จังหวัดแพร่


1. ประวัติโครงการ
ตามที่ นายศักดิ์สิทธิ์ ปัญญาฉลาด ประธานสภาตำบลเวียงต้าและ นายมานิตย์ แสนเตชะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ได้มีหนังสือ ลว 29 มิถุนายน 2537 ถึงสำนักราชเลขาธิการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่แลงตอนล่าง เพื่อกักเก็บน้ำไว้สำหรับราษฎรใช้อุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร โดยขอให้รับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักราชเลขาธิการจึงขอให้กรมชลประทานพิจารณารายละเอียดและข้อเสนอแนะ

ดังนั้นกรมชลประทานจึงมีหนังสือที่ ชป. 5392 ลว. 16 สิงหาคม 2537 ให้สำนักงาน ชลประทานที่ 2 สำรวจรายละเอียดและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ สำนักงานชลประทานที่ 2 ได้พิจารณาศึกษาโครงการแล้วมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีแนวทางดำเนินการได้ในลักษณะงานโครงการชลประทานขนาดกลาง เป็นโครงการหลักและก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็กเสริมอีกจำนวน 4 โครงการ พร้อมกับระบบส่งน้ำให้กับระบบส่งน้ำของโครงการหลัก เพื่อกักเก็บน้ำในฤดูฝนและส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของราษฎรในช่วงเกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ ซึ่งได้จัดทำรายงานพิจารณาเบื้องต้น แจ้งให้ทราบด้วย

กรมชลประทานได้มีหนังสือ ที่ กษ. 0339/5555 ลว. 31 กรกฎาคม 2538 ถึงสำนักราชเลขาธิการฯ เพื่อชี้แจงถึงผลของการพิจารณาสมควรยอมรับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่แลง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและจะได้ดำเนินการศึกษารายละเอียดโครงการต่อไป จากนั้นกองวางโครงการได้จัดทำรายงานวางโครงการเมื่อเดือน พฤษภาคม 2543

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

วัตถุประสงค์
1. เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตโครงการทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง
2. เป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคของราษฎรและสัตว์เลี้ยง
3. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาหรือสัตว์น้ำอื่น ๆ
4. เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้สูงขึ้น โดยเป็นผลสืบเนื่องจากการเพาะปลูก ได้ผล ลดอัตราการเสี่ยงในการเพาะปลูกลง ทำให้รายได้สูงขึ้น
5. เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณใกล้เคียง

เป้าหมาย

- ส่งน้ำช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎร จำนวน 5 หมู่บ้าน โดยทดน้ำเข้าฝายเดิมแล้วผันเข้าสู่ระบบเหมืองเดิมต่อไป
3. สถานที่ดำเนินการ

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่แลง ตั้งอยู่ที่ บ้านแสนทอง หมู่ที่ 10 ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ Latitude 18o-19’-03” เหนือ Longitude 100o-00’-49” ตะวันออก พิกัด 47 QPA 298-996 ระวาง 5045 IV ห่างจากที่ตั้งจังหวัดประมาณ 36 กม.
4. ผลประโยชน์ของโครงการ
-สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 10,000 ไร่
- เพื่ออุปโภคและบริโภค
- เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของราษฎรบริเวณใกล้เคียง
5. ความก้าวหน้าของโครงการ
5.1 ด้านออกแบบ
- กรมดำเนินการออกแบบเอง ผลงาน 50%
5.2 ด้านที่ดิน
- ยังไม่ได้ดำเนินการปักหลักเขต
5.3 ด้านป่าไม้
- ยังไม่ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าไม้
6. ผลการดำเนินงานในปัจจุบัน
- อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบ
7. ปัญหาและอุปสรรค
- ยังไม่ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าไม้ คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือน กันยายน 2546
- คาดว่าจะสามารถปักหลักเขตได้ในปีงบประมาณ 2548

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน


ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ เมื่อวันที่ 18-19 มีนาคม 2534 ให้เร่งรัดพัฒนาอาชีพของ เกษตรกรให้ดีขึ้น โดยการเพิ่มผลผลิตการส่งเสริมให้มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงสัตว์ และให้ความรู้ฝึกอบรม และนำผล การดำเนินงานผลิตปศุสัตว์ ขยายผลไปสู่เกษตรกร เพื่อลดการทำไร่เลื่อนลอย การเผาไม้ทำลายป่า และให้มีการปลูกป่า บริเวณศูนย์ฯโป่งแดง โดยไม่มีการตัดป่า หรือถางป่าเดิมออก ให้ปลูกดอกไม้ที่ออกดอกทั้ง 3 ฤดู หรือไม้อื่น ๆ เมื่อโต เต็มที่แล้วให้ทำเส้นทางเดินป่าเพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เป็น เส้นทางเดินป่า และเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าของประเทศไทย ซึ่งนับว่าจะสูญหายและหายากเพิ่มมากขึ้นทุกปี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2. ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า และควบคุมไฟป่าบริเวณพระตำหนักและพื้นที่โครงการ

3. ปลูกและบำรุงป่าเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้กลับอุดมสมบูรณ์ดังเดิม

4. รณรงค์และส่งเสริมการปลูกไม้ใช้สอยโดยการเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายและการปลูกต้นไม้ตามแนว เขต

ที่ตั้งโครงการ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

1. สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2. สำนักป้องกันและปราบปราม

3. สำนักงานป่าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มตั้งแต่ปี 2537

พื้นที่โครงการ ประมาณ 5,000 ไร่

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th

โครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

โครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่


ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2534 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จเยี่ยมเยียน ราษฎรท้องที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีพระราชดำริให้มีการดำเนินการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในท้อง ที่อำเภออมก๋อย ให้คงสภาพที่ สมบูรณ์และเอื้อประโยชน์สูงสุด โดยมีแนวทางในการดำเนินการ 3 ประการ คือ

1. รักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ไม่ให้ถูกทำลายต่อไป

2. จัดให้มีการฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายไป โดยให้มีทั้งไม้ป่าธรรมชาติและไม้ใช้สอย

3. พื้นที่ทำกินของราษฎรให้มีการช่วยเหลือทางด้านการเกษตรให้สามารถทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องตัดไม้ ทำลายป่าและจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอโดยไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพื่อให้ "คน" กับ "ป่า" อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนในลักษณะ "บ้านเล็กในป่าใหญ่"

วัตถุประสงค์

1. เพื่อรักษาสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์อยู่ไม่ให้ถูกต้องทำลายต่อไป ตลอดจนอนุรักษ์สัตว์ป่าและรักษา สภาพแวดล้อม

2. เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพที่สมบูรณ์ดังเดิมโดยให้มีทั้งป่า ธรรมชาติและป่าไม้ใช้สอย

3. เพื่อให้ราษฎรมีที่ทำกินเป็นหลักแหล่งมีการส่งเสริมด้านการเกษตรให้ทำกินได้อย่างมีประสิทธิ

4. ภาพและจัดหาแหล่งน้ำให้โดยมิให้ตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป

ที่ตั้งของที่ทำการโครงการ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

หน่วยงานกรมป่าไม้ที่รับผิดชอบโครงการ

1. สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่

2. สำนักงานป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่

3. ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า

4. ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ

5. ส่วนอุทยานแห่งชาติ

6. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า

ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่ปี 2536 - 2540 รวม 5 ปี

ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปี 2540 - 2545 รวม 5 ปี

พื้นที่โครงการ ประมาณ 1,824,860 ไร่

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th 

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทอน

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทอน จังหวัดอุดรธานี


ความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตน-ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ความโดยสรุปคือ ในบริเวณใกล้ป่าต้นน้ำห้วยทอนสมควรที่จะพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก และพัฒนาหมู่บ้านให้การช่วยเหลือราษฎรในรูปหมู่บ้านป่าไม้ และพัฒนา อาชีพของราษฎรให้มั่นคงอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ราษฎรบุกรุกเข้าไปทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ดังกล่าว

วัตถุประสงค์

1. ป้องกันรักษาต้นน้ำลำธารและควบคุมไฟป่าในพื้นที่โครงการท้องที่ อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี พื้นที่ประมาณ 75,000 ไร่

2. จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพราษฎรที่อยู่ในโครงการ

3. เร่งรัดดำเนินการฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรมให้กลับฟื้นคืนสภาพเดิมเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

4. เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับราษฎรและเยาวชน

5. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพระบบเกษตรป่าไม้ให้กับราษฎร

ที่ตั้งโครงการ ท้องที่ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติ ป่าพานพร้าวและ ป่าแก้งไก่ ท้องที่ ตำบลพระพุทธบาท และ ตำบลด่านศรีสุข อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

หน่วยที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย

ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี เริ่มปี พ.ศ. 2537 - 2541

พื้นที่โครงการ จังหวัดอุดรธานี 75,000 ไร่

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th

พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย




ความเป็นมาของวันเทคโนโลยีไทย

ปี พ.ศ. 2544 นี้ เป็นปีที่ 32 นับแต่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เริ่มมีการทดลองปฏิบัติการจริง ในท้องฟ้าครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512 และเป็นปีที่ 46 นับแต่ทรงเริ่มมีพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. 2498
เทคโนโลยีฝนหลวงที่ทรงทุ่มเทคิดค้นขึ้นมานี้ มิได้ยังประโยชน์ ต่อพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติทั่วไป ดังจะเห็นได้ว่า นับแต่ประเทศไทยได้จดทะเบียนกิจกรรมฝนหลวง กับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ เป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2525 เทคโนโลยีฝนหลวง จึงได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่การยอมรับ และถ่ายทอดตามคำร้องขอ ให้แก่สมาชิกที่มีกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รวม 28 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ถ่ายทอดโดยตรงให้กับมิตรประเทศ ทั้งในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ และนอกกลุ่ม เช่น ประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ ปากีสถาน โอมาน เป็นต้น รวมทั้งมีการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลระหว่างกันกับประเทศ สหรัฐ อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั่งกลุ่มประเทศอาเซียน และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ยกให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการดัดแปรสภาพอากาศ ในภูมิภาคเขตร้อน ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา



องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจึงได้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ในฐานะที่ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิก ให้กิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนในภูมิภาคเขตร้อน มีความเป็นไปได้ และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในทางเทคนิค จึงมีมติคณะรัฐมนตรี ถวายพระเกียรติให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย" เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 และมีมติเลือกวันที่ทรงสาธิต ปฏิบัติการฝนหลวง แก่นักวิทยาศาสตร์สิงค์โปร์ จากเขื่อนแก่งกระจาน โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ จนประสบความสำเร็จ เป็นที่อัศจรรย์ และประจักษ์ในพระปรีชาสามารถ ต่อนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันนั้น เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ให้เป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เทียบเท่าวันที่รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรำลึกถึง และทรงปรารภกับคณะบุคคลต่างๆ ที่มีโอกาสเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท ไม่ว่าจะเป็น คณะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ด้านการดัดแปรสภาพอากาศ หรือคณะผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติ ในโครงการพระราชดำริฝนหลวง อยู่เสมอว่า ผู้ที่ทำให้โครงการพระราชดำริเป็นจริง และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยประดิษฐ์ ด้านเกษตรวิศวกรรม ผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รับพระราชทานแนวพระราชดำริ และข้อสมมติฐานมาดำเนินการค้นคว้าทดลอง วิจัยและพัฒนา ปฏิบัติการจนสำเร็จ และก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทรงยกย่อง "ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล" ว่าเป็น "บิดาแห่งฝนหลวง"
สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมโครงการพระราชดำริฝนหลวงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ทุกหมู่เหล่า นอกจากจะซึมซับอยู่ในความทรงจำแล้ว ยังตระหนักดีว่า เหนือกว่า "บิดาแห่งฝนหลวง" แล้ว ยังมี "พระบิดาแห่งฝนหลวง" ผู้ทรงจุดประกายให้ "ฝนหลวง" ขึ้นมาในมนุษย์โลก และทรงเป็นหลักชัยของโครงการพระราชดำริฝนหลวง มาตราบเท่าทุกวันนี้ และตลอดไปชั่วกาลนาน
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเทคโนโลยี
การรวบรวมเทคโนโลยีต่างๆ ที่วิจัยและพัฒนาโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือที่เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยปราศจากผู้ที่ มีส่วนร่วม หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ให้ข้อมูลโดยตรง คงเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก แต่ในการศึกษาจากผลงานต่างๆ ซึ่งมีการบันทึกเป็นหลักฐาน โดยผู้ที่เกี่ยวข้อง คงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สำหรับการเริ่มบันทึก เพื่อนำเผยแพร่ ต่อสาธารณชน ส่วนการดำเนินการต่อไปนั้น คาดว่าจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่ายที่พร้อมใจ จะมาร่วมกันทำงาน เพื่อให้ข้อมูล ที่นำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์นี้ มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น



สิ่งประดิษฐ์ที่จัดได้ว่ามีความสลับซับซ้อน ลึกซึ้ง และสร้างผลกระทบสูงคือ การทำฝนเทียม ที่ทุกคนรู้จักกันดีในนาม "ฝนหลวง" ซึ่งเป็นกรรมวิธีการสร้างฝนจริงๆ โดยอาศัยไอน้ำที่อยู่ในบรรยากาศ คือก้อนเมฆ ซึ่งในหน้าแล้งมักจะลอยผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป โดยไม่กลายเป็นน้ำฝน ที่เกษตรกรเฝ้ารอคอย การสร้างฝนจึงต้องอาศัยความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ (เคมี และฟิสิกส์) และแปลงเป็นเทคนิค โดยอาศัยเทคโนโลยีการบิน เป็นเครื่องมือมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ สร้างก้อนเมฆให้โตขึ้น สร้างสถานการณ์ที่ทำให้เกิดแรงลม ที่ช่วยลดระดับของก้อนเมฆที่โตขึ้น จนกลั่นตัวเป็นหยดน้ำฝน ตกลงในพื้นที่เป้าหมายได้สำเร็จ วิทยาการดังกล่าวนี้ ต้องเกิดจาก กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต บันทึก วิเคราะห์เพื่อสร้างสมมุติฐาน ตั้งทฤษฎี และทำการทดลอง จนเกิดความเข้าใจทั้งหมด จากนั้นจึงนำวิทยาศาสตร์ ที่เป็นความรู้ใหม่ ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อพิสูจน์ว่า ทำฝนขึ้นมาได้จริงๆ การพิสูจน์ดังกล่าว ได้เกิดขึ้นต่อหน้ากลุ่มบุคคล ที่สำคัญทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับการปฏิบัติการฝนหลวงด้วยพระองค์เอง ดูรายละเอียดที่ ความเป็นมาของวันเทคโนโลยีไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากผลการทรงงานที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างเช่น
กังหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อทำหน้าที่เติมออกซิเจนลงไปในน้ำ เพิ่อลดมลภาวะทางน้ำ
การออกแบบสายอากาศ (antenna) เพื่อใช้กับวิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
"ทฤษฎีใหม่" เพื่อบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกร ให้มีสภาพการใช้งานที่สร้างความยั่งยืนมากกว่าการทำการเกษตร โดยไม่มีการแบ่งส่วนของที่ดิน เพื่อใช้ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำ และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ควบคู่ไปกับการเพาะปลูก เป็นต้น ฯลฯ
ในสาขาการเกษตร ทรงทำการศึกษา วิจัย และค้นพบความสามารถของหญ้าแฝกในการยึดเกาะดิน ช่วยป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งหมดสภาพการดูดซับน้ำไว้ในดิน และมีผลทำให้เกิดดินพังทลาย เมื่อมีฝนตกลงในพื้นที่สูงที่ขาดป่า ดังนั้นในหลายพื้นที่ จึงมีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อช่วยรักษา สภาพของดิน และเป็นจุดเริ่มของการฟื้นฟูสภาพป่าต่างๆ ได้ โครงการหญ้าแฝก จึงเป็นทางออกที่สำคัญในการรักษาผิวดิน
วิทยาการด้านน้ำ นับว่าเป็นสาขาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือน ทั้งนี้เพราะเราสามารถสังเกตได้ว่าพระองค์ท่านเป็น นักวิทยาศาสตร์ต้นน้ำ ที่มีความวิริยะอุตสาหะเป็นที่สุด ไม่ว่าจะพิจารณาจากด้านการแก้ภัยแล้งโดยฝนหลวง หรือการแก้ปัญหาน้ำท่วม อันเนื่องมาจากสาเหตุนานัปการ อาทิ พายุไต้ฝุ่น น้ำป่าไหลหลาก ผ่านพื้นที่ ที่ถูกทำลายสภาพป่า จนหมดสภาพ การดูดซับน้ำ และปัญหาที่มนุษย์สร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มาขวางทางน้ำธรรมชาติ เป็นต้น
ภาพที่ชาวไทยเห็นติดตาอยู่เป็นประจำในตลอดระยะเวลา 30-40 ปีที่ผ่านมาก็คือ การเสด็จพระราชดำเนินไปยังจุดต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อทรงประกอบ พระราชกรณียกิจช่วยเหลือราษฎรผู้ทุกข์ยาก และเสด็จประพาสยังที่ต่างๆ เพื่อทรง "เก็บข้อมูล" ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต ประวัติปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วม วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ดิน และการเกษตร โดยทรงบันทึก "ข้อมูล" ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ และเวลา ลงบนแผนที่ด้วยพระองค์เอง จนเรียกได้ว่าไม่มีผู้ใด ในประเทศไทยที่รู้จักประเทศไทยได้ดีเท่าพระองค์ท่านใน 5 มิติ กล่าวคือ 3 มิติ ทางด้านตำแหน่งบนพื้นดิน และระดับความสูง บวกกับมิติที่ 4 แห่งกาลเวลา และมิติที่ 5 คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดนั้น เช่นน้ำท่วม ฝนแล้ง ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ
ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ แม้ว่าจะไม่มีการบันทึกเป็นดิจิตัล และหาเครื่องคอมพิวเตอร์มาสร้างรูปแบบจำลองเพื่อดูพฤติกรรมของน้ำในกรณีต่างๆ ว่าจะไหลอย่างไร เมื่อมีฝนตกลงมายังตำบลใด แต่บ่อยครั้งที่เราทราบจากข่าวในสื่อมวลชนต่างๆ ว่ามีพระราชดำริให้สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำสะอาดไว้ในจุดต่างๆ ของประเทศไทย แทนที่จะปล่อยให้ไหลลงสู่ที่ต่ำ และออกสู่มหาสมุทรภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากฝนตกในพื้นที่ต้นน้ำ มีผลให้เราสามารถควบคุมทรัพยากรน้ำสะอาดที่มีค่ามหาศาล ต่อการเกษตรไว้ในที่ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงได้เป็นเวลาหลายเดือน และสามารถกำหนดปริมาณการไหลของน้ำลงมายังปลายน้ำได้ ในปริมาณที่เหมาะสม แลกกับพื้นที่ ป่าเหนือเขื่อน ซึ่งเป็นหุบเขา ที่เราต้องแลกกับการมีน้ำใช้ ทำการเกษตรกรรมตลอดปี ในพื้นที่ใต้เขื่อน จนประชาชนในหลายๆ ลุ่มน้ำนึกภาพไม่ออกอีกแล้ว ว่าหากไม่มีเขื่อน แล้วจะมีปรากฏการณ์ น้ำท่วมในหน้าฝน และเกิดการแล้งน้ำอย่างรุนแรง หากฝนไม่ตกเป็นเวลานาน
เขื่อนแต่ละเขื่อนแม้จะมีการลงทุนสูง แต่มีผลทำให้ทุกคนมีน้ำสะอาด คุณภาพสูงไว้ใช้ประโยชน์ในเวลาที่นานขึ้น และการปล่อยให้น้ำไหล เรายังได้ไฟฟ้าออกมาใช้ ประโยชน์อีกด้วย ควบคู่ไปกับการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาต่างๆ ในหุบเขาเหนือเขื่อน
ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ก็เช่นเดียวกัน เราเคยมีปัญหาน้ำท่วมขังระดับมาราธอน คือ นานกว่า 3 เดือน ใน ปี พ.ศ. 2536 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ปัญหาดังกล่าว ถือว่าเป็นอดีต เพราะได้มีการจัดการเรื่องน้ำตามแนวพระราชดำริในหลายๆ ด้านที่ได้ผล เพราะผ่านการศึกษาวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ "รู้จริง" ในสภาพพื้นที่ของกรุงเทพฯ ว่าเป็นพื้นที่ราบและมีระดับความแตกต่างของพื้นดินระหว่างจุดต่างๆ ค่อนข้างน้อย นับตั้งแต่ทิศเหนือ (รังสิต/ดอนเมือง) ไปยังทิศใต้ (บางแค เพชรเกษม) ดังนั้นหากมีการสร้างถนนหรือถมที่ดินเพื่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ สิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เหล่านี้จะรวมกันสร้างปัญหาให้กับกรุงเทพฯ อย่างรุนแรง กล่าวคือ เกิดน้ำท่วมขังแน่นอน และหากทั่วทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่มีผู้ใดทราบจริงว่าน้ำไหลออกจาก บริเวณขนาดใหญ่นี้อย่างไร แม้จะมีเครื่องสูบน้ำจำนวนมากก็จะเป็นการสูบออกนอกเขตตัวเองเพื่อไหลเวียนที่เขตอื่น แล้ววนกลับมาอยู่ที่เดิมอย่างน่าพิศวง เมื่อเหตุการณ์ เป็นเช่นนี้ก็คงจะเป็นการยากที่จะหาข้อมูลมาสนับสนุนการคิดว่า จะผันน้ำออกจากกรุงเทพฯ อย่างไร คลองต่างๆ มีทางช่วยระบายน้ำอย่างไร
ในการแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับระดับความสูงต่ำของพื้นที่ในกรุงเทพฯ ซี่งมีความราบเรียบมากมิใช่ของง่าย แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องบางท่านเล่าว่า มีพระราชกระแสรับสั่งให้ คนหลายคน ทำหน้าที่เก็บข้อมูลถวายว่าระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองต่างๆ สูงต่ำแค่ไหน และเมื่อมีเหตุการณ์ฝนตกหนักในกรุงเทพฯ หรือในพื้นที่ทางทิศเหนือของเมือง ซึ่งจะทำให้มีน้ำไหลลงมาสู่กรุงเทพฯ ระดับน้ำจะขึ้นมาอย่างไร ระดับน้ำที่สังเกตนี้เองที่จะกลายเป็นเครื่องวัดระดับความสูง/ต่ำ ของพื้นที่ดินในกรุงเทพฯ ที่แม่นยำ หากนำผลการวัดต่างๆ ไปรวมกันในแผนที่แผ่นเดียวกัน สิ่งที่จะได้ก็คือ แผนที่แสดงระดับชั้นของความสูง (terrain map) นั่นเอง ผู้ใดมีข้อมูลเกี่ยวกับระดับชั้นความสูง ของพื้นดิน ทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้นั้นจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้ และจะสามารถบอกได้ว่าจะระบายน้ำออกจากกรุงเทพฯ กันอย่างไร
จากที่เราได้ทราบถึง พระราชดำริ จากพระราชดำรัส ของพระองค์ท่าน ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีต่างๆ ทำให้เชื่อว่า พระองค์ท่าน ทรงมีพระราชวินิจฉัยจากข้อมูล การสำรวจ ทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจากการมีพระราชปฎิสัณฐาน กับผู้สูงอายุต่างๆ เพื่อทราบที่มาที่ไป ของน้ำในอดีต รวมถึงความหมายของชื่อตำบลต่างๆ เช่น คลองตัน ที่มีชื่อเช่นนี้ ก็เพราะเป็นคลองที่ ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ (จากพระราชดำรัส 4 ธ.ค. 2543) นอกจากนี้ การทรงเก็บข้อมูล ในแกนเวลาสู่อดีต พร้อมกับการ สังเกตว่า มีสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ใดๆ หรือการถมคลองเกิดขึ้น ในช่วงเวลาใด และมีผลทำให้ทางน้ำไหลเปลี่ยนเป็นอย่างไร จะช่วยให้บอกได้ว่า ความสามารถในการ ระบายน้ำของกรุงเทพฯ เปลี่ยนไปอย่างไร
ในโอกาสที่ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน หลายท่านอาจจะนึกถึง ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Information System หรือ GIS ว่าน่าจะเป็นเทคโนโลยี ที่จะมาช่วยสังคมได้ แต่ในโลกแห่งความจริง ส่วนราชการต่างๆ ได้ลงทุนด้าน GIS กันอย่างมาก แต่ยังไม่บรรลุถึงขีดความสามารถ ที่ผู้ใด นอกจากพระองค์ท่าน ที่จะตัดสินได้ว่าทำไมกรุงเทพฯ จึงต้องมีแนวทางระบายน้ำ (floodway) ทำไมเหนือกรุงเทพฯ จึงควรมี "คันกันน้ำท่วม" และเหนือขึ้นไปอีก ควรมีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และผลจากพระราชกรณียกิจดังกล่าว ทำให้พสกนิกรในภาคกลาง รอดพ้นจากอุทกภัยที่เกิดจากฝีมือของพวกเราเอง ที่มีการถมคลอง ถมดิน และปลูกสิ่งก่อสร้าง ที่ขวางทางการไหลของน้ำลงสู่อ่าวไทย ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายอาจจะต้องพิจารณา มาร่วมศึกษาเทคโนโลยีด้วยกัน ว่าจะทำอย่างไร บรรดานักวิชาการ ทั้งหลายจะได้มารวบรวมข้อมูลกัน เพื่อสนองพระราชดำริ สร้างองค์ความรู้ และถ่ายทอดพระราชวินิจฉัย ให้ออกมาเป็นระบบ ที่ช่วยให้สามารถบริหารทรัพยากรน้ำ กันอย่างแท้จริง เพื่อฉลองการที่ประเทศไทยมี "วันแห่งเทคโนโลยีไทย" ขึ้นในวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ได้มีการริเริ่มโครงการ "บริหารทรัพยากรน้ำ ประเทศไทย" (Thailand Integrated Water Resource Management: TIWRM) [tiwrm.hpcc.nectec.or.th] เกิดขึ้นแล้ว และขณะนี้ เริ่มมีการรวบรวมข้อมูล จากหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน และนับตั้งแต่ดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีการรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่น ที่เข้ามาในประเทศไทย และที่มีผลต่อประเทศไทย ย้อนหลังไป 50 ปี พร้อมทั้งผลกระทบ คู่กับแผนที่ดิจิตัล ที่อธิบายสภาพ ความเสียหาย สภาพถนน และความสามารถ ในการระบายน้ำบนพื้นดิน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อใช้เป็นแหล่งความรู้ สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งคาดว่าอีกไม่นาน ประชาชนคนไทย ก็จะได้รับทราบ ถึงเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย อันสืบเนื่องมาจาก พระราชดำริขององค์ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย" ที่ทรงเป็นที่รัก และเทอดทูนยิ่ง ของปวงชนชาวไทย

ขอขอบคุณ : http://siweb.dss.go.th